คอมพิวเตอร์ ป.6

หลักการนำเสนอและรวบรวมข้อมูล

ความหมายและความสำคัญของการนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอ (Presentation) หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับฟังข้อมูล โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

ความสำคัญของการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูลมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เนื่องจากทำให้ผู้รับฟังสามารถเห็นภาพรวม เข้าใจเนื้อหาข้อมูล หรือความคิดของผู้นำเสนอได้ง่ายในเวลาอันสั้น เช่น คุณครูนำเสนอเนื้อหา บทเรียน, เพื่อนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน เป็นต้น

ขั้นตอนการสร้างงานนำเสนอข้อมูล

ขั้นตอนแรกที่ต้องทำและถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างงานนำเสนอ คือ วางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ ซึ่งการสร้างงานนำเสนอที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายส่วนด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ข้อมูลที่จะใช้นำเสนอ ลำดับขั้นตอนการนำเสนอ วิธีการนำเสนอ ซึ่งมีขั้นตอนหลัก ๆ ในการสร้างงานนำเสนอ ดังนี้
  1. วางแผนและกำหนดงัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. ออกแบบงานนำเสนอ
  4. ลงมือสร้างงานนำเสนอ
  5. ซักซ้อมก่อนนำเสนอ
  6. นำเสนอจริง

การวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ

เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่ต้องการนำเสนอเสียก่อน จากนั้นจึงพิจารณาหัวข้อดังต่อไปนี้
  1. กำหนดหัวข้อและเนื้อหาที่จะนำเสนอ
  2. กำหนดวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ
  3. ระบุกลุ่มเป้าหมาย / ผู้ฟัง
  4. พิจารณารูปแบบของข้อมูลให้เหมาะสมกับการสื่อความหมายที่เข้าใจง่าย และชัดเจน เช่น แผนภูมิ ตาราง เป็นต้น
  5. พิจารณาการใช้ซอฟต์แวร์นำเสนอ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนใหญ่จะเก็บรวบรวมจากข้อมูลที่มีจำนวนมาก และเป็นข้อมูลที่มีความเป็นปัจจุบัน วิธีการรวบรวมข้อมูลเราสามารถทำได้ 4 วิธี ดังนี้
  1. การสอบถาม / การสัมภาษณ์
  2. การสังเกตจากสถานการณ์จริง
  3. การสำรวจ
  4. การค้นหาจากสื่อและเอกสารต่าง ๆ
เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวเพื่อความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล

วิธีการสร้างแบบสำรวจเบื้องต้น

สิ่งสำคัญที่เราจะต้องใช้พิจารณาในการสร้างแบบสำรวจเบื้องต้น คือ
  • เรื่องที่สนใจ
  • วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
  • กลุ่มเป้าหมาย
  • แหล่งข้อมูล
  • แบบฟอร์มการสำรวจ
ตัวอย่าง งานนำเสนอ เรื่อง "ดอกไม้ที่พบในโรงเรียน"

 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น