หลักการเขียนนิทาน
นิทาน เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนจินตนาการขึ้น อาจเป็นเรื่องจริงบางส่วนผสมกับจินตนาการที่ผู้เขียนต้องการเพิ่มรสชาติความสนุกสนาน แง่คิด คติ และมุมมองต่าง ๆ ให้แก่ผู้อื่นองค์ประกอบของนิทาน
- ชื่อเรื่อง มีแนวคิดมาจากตัวละครหลัก หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในนิทาน ควรตั้งชื่อเรื่องให้มีความน่าสนใจ
- โครงเรื่องของนิทาน เป็นการเล่าเรื่องที่มีลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลัง ต้องไม่ซับซ้อน สั้นและกระชับ
- ตัวละคร ขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้เขียน เช่น คน สัตว์ เจ้าชาย นางฟ้า แต่ไม่ควรมีตัวละครมากเกินไป
- ฉาก สถานที่หรือสิ่งแวดล้อม รวมถึงบรรยากาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง เช่น ในป่า บ้าน ปราสาท ในน้ำ
- บทสนทนา การพูดคุยของตัวละคร ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ สนุกสนาน
- คติสอนใจ ข้อคิดที่ผู้อ่านควรได้รับเมื่อจบนิทาน เพื่อเป็นการปลูกฝุงคุณธรรม และกล่อมเกลาจิตใจ
หนังสือนิทานที่สร้างด้วยโปรแกรมประยุกต์ จะมีลักษณะคล้ายหนังสื่อจริง สามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อสารกับผู้อ่านในลักษณะของมัลติมีเดีย คือ มีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง แต่ยังคงรักษารูปแบบความเป็นหนังสือไว้ทั้งรูปร่าง ลักษณะการเปิดอ่าน เราเรียกหนังสือที่สร้างด้วยโปรแกรมประยุกต์นี้ว่า E-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีโปรแกรมเฉพาะในการสร้าง เช่น FlipAlbum, Desktop Auther ในการอ่านต้องติดตั้งโปรแกรมแสดงผลที่เรียกว่า Reader หรือ Browser โดยโปรแกรม FlipAlbum จะใช้โปรแกรม FlipViewer ในการอ่าน เรามาดูขั้นตอนการรวมเล่มนิทานด้วยโปรแกรม FlipAlbum จากคลิปวีดีโอด้านล่างกันเลยครับ...
ดาวน์โหลดเพลงประกอบนิทานได้ตามลิงก์นี้ คลิกเลย
ส่วนประกอบของหนังสือนิทาน มีดังนี้
- ปกหน้า - ปกหลัง
- ภาพประกอบ
- เนื้อหา
- ภาพพื้นหลัง
- เพลงประกอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น